อัตราส่วนทางการเงิน P/E ROA ROE และ P/BV

สวัสดีครับ ช่วงนี้ไม่ค่อยได้เข้ามาอัพเดต blog เท่าไหร่ เหตุผลหนึ่งเนื่องจากภาระหน้าที่การงาน ส่วนอีกเหตุผลก็คือไม่รู้จะมาเขียนอะไรดี เพราะพองานเยอะก็ไม่ค่อยได้มีเวลาศึกษาเพิ่มเติม เพราะอย่างที่เคยบอกไว้แต่แรกว่าผมก็ไม่ใช่เซียนหุ้นมาจากไหน แต่มีความสนใจในการเก็งกำไรและการลงทุน blog นี้ก็เหมือนสมุดโน้ตที่ผมใช้จดในสิ่งที่ได้อ่านหรือศึกษามา ถ้าผู้อ่านท่านใดอยากจะแชร์ความรู้หรือเขียนอะไรลงใน blog ผมก็ติดต่อเข้ามาได้นะครับ ถือว่าเป็นวิทยาทานแก่ผู้อ่านท่านอื่นๆด้วย

วันนี้ก็จะขอยกเรื่องอัตราส่วนทางการเงินขึ้นมาทบทวนอีกสักครั้ง หลังจากได้เคยนำบทความเรื่อง การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis) มาลงไว้ เพราะตัวผมเองก็ยังสับสนกับอัตราส่วนพวกนี้อยู่บ่อยๆ ถ้าผมเขียนหรือเข้าใจอะไรผิดไปก็รบกวนช่วยแนะนำโดยการคอมเม็นต์ไว้ก็ได้ครับ

หลังจากคราวที่แล้วได้แนะนำหนังสือ คัมภีร์สุดยอดนักลงทุน (THE LITTLE BOOK that BEATS the MARKET) ที่นำเสนอสูตรสำเร็จการลงทุนซึ่งใช้อัตราส่วนทางการเงิน 2 ตัวคือ P/E และ ROA ในที่นี้จะขอทบทวนอีกครั้งว่าอัตราส่วนทั้ง 2 ตัวนี้มีความหมายอย่างไร

P/E (Price/Earning per Share) หรืออัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นและกำไรต่อหุ้น ถ้าสมมติให้กำไรของบริษัทคงที่ตลอดหรือไม่มีการเติบโตเลย ค่า P/E จะหมายถึงระยะเวลาที่ใช้ในการคืนทุน เช่น ถ้าเราซื้อหุ้นราคา 10 บาท โดยหุ้นนั้นมีค่า P/E อยู่ที่ 5 เท่า หมายความว่ากำไรต่อหุ้นเท่ากับ 2 บาท เมื่อเราถือหุ้นนี้ไป 5 ปี กำไรต่อหุ้นจะเท่ากับ 2 x 5 คือ 10 บาท ซึ่งเท่ากับราคาต้นทุนที่เราซื้อนั่นเอง ค่า P/E นี้ยิ่งต่ำยิ่งดีครับ เพราะผู้ลงทุนสามารถคืนทุนได้เร็

ROA (Return On Assets) เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ของบริษัท โดยคำนวณจาก Net Income/Total Assets โดยสินทรัพย์สุทธิ (Total Assets) ของบริษัทนั้นประกอบด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นและส่วนของหนี้สิน ค่า ROA นี้ยิ่งสูงยิ่งดีพราะแสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรสูงเมื่อเทียบกับมูลค่าสินทรัพย์ที่ลงทุน หากค่า ROA ของบริษัทต่ำกว่า 5% นักลงทุนมืออาชีพมักจะไม่ให้ความสนใจกับบริษัทนั้น

นอกจากอัตราส่วนสองตัวที่กล่าวถึงในหนังสือคัมภีร์สุดยอดนักลงทุนแล้ว ลองมาดูอัตราส่วนตัวอื่นที่นักลงทุนแบบเน้นคุณค่านิยมใช้ในการเลือกหุ้นกัน

ROE (Return on Equity) เป็นตัวที่บ่งบอกถึงความสามารถของบริษัทในการนำเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นไปทำให้งอกเงยได้ในอัตราผลตอบแทนเท่าไหร่ ซึ่งคำนวณจาก Net Income/Equity ค่า ROE นี้ยิ่งสูงยิ่งดี โดยนักลงทุนมืออาชีพจะมองหาหุ้นที่มีค่า ROE สูงกว่า 12-15% อย่างต่อเนื่องหลายๆปี

หากนำค่า ROA และ ROE มาพิจารณาแล้วจะพบว่าอัตราส่วนทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันคือเป็นตัวบ่งบอกความสามารถในการทำกำไรของบริษัท จุดแตกต่างกันที่สำคัญของอัตราส่วนทั้งสองจะอยู่ที่หนี้สินของบริษัท เนื่องจาก Assets = Equity + Liabilities ดังนั้นจากสูตรการหาค่า ROA และ ROE จะเห็นว่าถ้าบริษัทไม่มีหนี้สินค่าหรือ Liabilities มีค่าเท่ากับ 0 เราจะคำนวณค่า ROA ได้เท่ากับ ROE ต่หากบริษัทมีหนี้สินเยอะอาจทำให้ค่า ROA ที่ได้มีค่าต่ำในขณะที่ ROE มีค่าเท่าเดิม ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ควรระวังหากพิจารณาเฉพาะค่า ROE ที่สูงๆโดยไม่พิจารณาถึงหนี้สินของบริษั

อัตราส่วนอีกตัวที่นิยมนำมาใช้ในการเลือกหุ้นคุณค่าและจะพูดถึงเป็นตัวสุดท้ายในวันนี้ก็คือ

P/BV (Price/Book Value) โดย Book Value คิดมาจาก Equity/Number of Shares โดยทั่วๆไปแล้วค่า P/BV นี้ยิ่งต่ำยิ่งดี ตัวเลขมาตราฐานที่มักจะใช้เป็นฐานก็คือ 1 เท่า หากสามารถซื้อหุ้นที่มีค่า P/BV น้อยกว่า 1 ได้ก็หมายความว่าเราสามารถซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษั

หลังจากได้ทบทวนอัตราส่วนทางการเงินที่นักลงทุนหุ้นคุณค่านิยมใช้ในการพิจารณาเลือกหุ้นที่จะซื้อกันแล้ว คราวหน้าหากมีโอกาสเราลองมาดูความสัมพันธ์ของอัตราส่วนพวกนี้กันดูครับ

Popularity: 86% [?]

Related posts

This entry was posted on Monday, February 23rd, 2009 and is filed under Fundamental Analysis, Value Investment. You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 feed. You can leave a response, or trackback from your own site.

Leave a Reply

Tag Cloud